กิฟฟารีน ไฟโตสเตอรอล แคปซูล


กิฟฟารีน ไฟโตสเตอรอล  แคปซูล

ช่วยดักจับคลอเรสเตอรอลในกระเพาะอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบรับประทานอาหารมัน หรืออาหารประเภทซีฟู้ด 
.


  • รหัสสินค้า : 40115
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไฟโตสเตอรอล ชนิดแคปซูล ตรากิฟฟารีน
     
    ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณใน 1 แคปซูล :
    ไฟโตสเตอรอล เอสเทอร์  650 มก.
    ประโยชน์ : 
           - ลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล ในระบบทางเดินอาหาร โดยจับกับโคเลสตอรอล และไม่มีผลต่อการดูดซึมสารอาหารชนิดอื่นๆ
           - ช่วยลดไขมันในเลือด ซึ่งมีประโยชน์ในผู้ที่ไขมันในเลือดสูง มักพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหัวใจ
    โรคหรือภาวะที่แนะนำ :
           - ไขมันในเลือดสูง
           - โรคหัวใจขาดเลือด
           - เบาหวาน
           - ผู้สูงอายุ
    ข้อห้าม-ข้อควรระวัง :
           ไฟโตสเตอรอล ทำจากถั่วเหลือง จึงห้ามในผู้ที่แพ้ถั่วเหลือง
    หมายเหตุ :
           - ควรรับประทานพร้อมอาหารในมื้อที่ทานไขมันมาก
           - ไม่รับปะทานพร้อมกับสารที่ลดการดูดซึมน้ำมัน เช่น กลูโคแมนแนน  แฟตต์-บล็อคเกอร์
    วิธีรับประทาน : ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง พร้อมอาหาร
     
    ขนาด 60 แคปซูล
    รหัส 40115 




    • ราคาปกติ : 980.00 ฿
    • ราคาพิเศษ : 735.00 ฿




    • HEALTH NEWS

    • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ไฟโตสเตอรอล กับโคเลสเตอรอล

    • ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) เป็นสารสเตอรอลที่พบในพืช มีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกับโคเลสเตอรอลมาก จึงช่วยยับยั้งการดูดซึมโคเลสเตอรอลในอาหารที่เรารับประทานเข้าไปไม่ให้เข้า สู่กระแสเลือดด้วยกลไกการเข้าไปแทนที่โคเลสเตอรอล ที่ตัวรับโคเลสเตอรอล (และตัวไฟโตสเตอรอลเองจะถูกดูดซึมได้น้อยมาก) ทำให้โคเลสเตอรอลจากอาหารถูกดูดซึมน้อยลงและถูกขับออกมาพร้อมกับอุจจาระในที่สุด 
      ดังนั้นการบริโภคไฟโตสเตอรอลจะช่วยทำให้ระดับโคเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอล โคเลสเตอรอล (LDLCholesterol) หรือโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ลดลง โดยที่ไม่ไปกระทบกับ เอชดีแอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol) หรือโคเลสเตอรอลชนิดดี เป็นผลให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง (อ้างอิงที่ 1)
      สำหรับงานวิจัยที่สนับสนุนผลของไฟโตสเตอรอลในการลดโคเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอลโคเลสเตอรอลนั้น มีหลายงานวิจัยสนับสนุน โดยในปีคศ.1999 นั้น มีงานวิจัยตีพิมพ์ว่า ได้มีการใช้ไฟโตสเตอรอลในการศึกษากับมนุษย์ 16 งานวิจัย รวม 590 คน พบว่า สามารถช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลรวมในเลือดลงได้เฉลี่ย 10% และลดระดับ แอลดีแอล โคเลสเตอรอลลงได้ 13% (อ้างอิงที่ 2) อีกงานวิจัยหนึ่งเป็นการกล่าวถึงว่า การได้รับไฟโตสเตอรอลในรูปเอสเทอร์ 2 กรัมต่อวัน สามารถช่วยลดระดับแอลดีแอล โคเลสเตอรอลลงได้ 10% (อ้างอิงที่ 3)
      นอกจากนี้ คณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ยอมรับถึงเรื่องประโยชน์ของไฟโตสเตอรอล โดยได้มีประกาศเกี่ยวกับข้อกำหนดเรื่องการกล่าวอ้างทางสุขภาพของ สเตอรอลเอสเทอร์จากพืช (Plant Sterol Ester) กับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ มีความตอนหนึ่งว่า มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่า อาหารที่มี สเตอรอลเอสเทอร์จากพืช (Plant Sterol Ester) ช่วยในการลดระดับของโคเลสเตอรอลรวม และแอลดีแอลโคเลสเตอรอลได้ โดยข้อกำหนดนี้อนุญาตให้กล่าวอ้างบนฉลากอาหารประเภทที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ หรือมีไขมันอิ่มตัวต่ำได้ว่า สเตอรอลเอสเทอร์จากพืช อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ ที่การรับประทานอย่างน้อย 1.3 กรัมต่อวัน ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด (อ้างอิงที่ 4)

      โคเลสเตอรอล (Cholesterols) คือ สารประกอบไขมันชนิดหนึ่ง พบได้ในสัตว์ และมนุษย์ ร่างกายได้รับโคเลสเตอรอลจากการสังเคราะห์ของตับ และจากอาหารที่รับประทานเข้าไป โคเลสเตอรอลจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายโดยทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของผนัง เซลล์ในร่างกาย และยังเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนบางชนิดที่จำเป็นของร่างกาย และน้ำดี โดยปกติแล้ว โมเลกุลของ โคเลสเตอรอล จะลอยในกระแสเลือดไม่ได้ เมื่อโคเลสเตอรอลเข้าไปอยู่ในกระแสเลือด จะต้องมีการจับตัวกับโปรตีน เรียกว่า ไลโปโปรตีน โดยเราสามารถแบ่ง ไลโปโปรตีน หรือ อาจจะเรียกง่ายๆ ว่า โคเลสเตอรอลในเลือดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
      1. แอลดีแอล โคเลสเตอรอล (LDL Cholesterol)
      เปรียบเสมือน "ตัวผู้ร้าย" โดยแอลดีแอลที่มากเกิน จะเข้าไปแทรก และฝังตัวที่ผนังหลอดเลือด สะสมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และจะก่อให้เกิดเป็นพล๊าค (plaque) หรือตะกอน ที่ผนังหลอดเลือดแดง อันเป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ยิ่งระดับ LDL โคเลสเตอรอลสูงมากเท่าไหร่ อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

      1. เอชดีแอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol)
        เปรียบเสมือน "ตำรวจ" คอยจับผู้ร้าย เพราะ เอชดีแอล โคเลสเตอรอล จะทำหน้าที่เป็นตัวพาโคเลสเตอรอล จากหลอดเลือดแดง กลับไปทำลายที่ตับ การมีระดับ HDL โคเลสเตอรอลสูง จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease)
        (อ้างอิงที่ 5-7)

      การแบ่งระดับของโคเลสเตอรอล
      อ้างอิงจาก ATP III Classification of LDL, Total, and HDL Cholesterol (mg/dL), ATP III Guidelines At-A-Glance Quick Desk Reference, National Cholesterol Education (อ้างอิงที่ 8)

      โภชนาการเกิน เป็นปัญหาทางโภชนาการที่เกิดจากการบริโภคไขมันจากเนื้อสัตว์มากเกินความต้อง การของร่างกาย ทำให้เกิดโรคไขมันสูงในเลือด ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิด โรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งจะมีผลต่อการเกิดอัมพาตได้ กรดไขมันที่อิ่มตัว ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่จะเพิ่มปริมาณของโคเลสเตอรอลในเลือดให้สูงขึ้นได้ (อ้างอิงที่ 9) ดังนั้นพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภคของคนเราจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ เกิดภาวะโคเลสเตอรอลสูง
      สำหรับแนวทางในการควบคุมระดับโคเลสเตอรอล สามารถทำได้หลายวิธีคือ

      1. ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องใน อาหารทะเลบางชนิด อาหารประเภททอด น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง น้ำมันมะพร้าว กะทิ หันมาบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพต่างๆ เช่น นมพร่องมันเนย และอาหารประเภทผักและผลไม้ต่างๆ หรือรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของไฟโตสเตอรอลพร้อมกับมื้ออาหาร
      2. ออกกำลังกายควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร วิธีนี้จะช่วยเพิ่มระดับ HDL โคเลสเตอรอล และลดระดับ LDL โคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ควรออกกำลังกายอาทิตย์ละ 3 ครั้ง และทำอย่างต่อเนื่องใน แต่ละครั้งตามระดับความสามารถของร่างกายตัวเอง

      3.ใช้ยาช่วยลดระดับไขมันในเลือด วิธีนี้ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย


    •  
    • สมัครรับส่วนลด25%ที่นี่
  • โทร.063 442 4215
  • line id=confident19




แอสตาแซนธิน เอจ ดีไฟอิ้ง ครีมบำรุงผิวหน้า สำหรับผิวแห้ง


แอสตาแซนธิน เอจ – ดีไฟอิ้ง เฟเชียล ครีม,แอสตาแซนธินครีม,ประโยชน์แอสตาแซนธิน เอจ – ดีไฟอิ้ง เฟเชียล ครีม

แอสตาแซนธิน เอจ – ดีไฟอิ้ง เฟเชียล ครีม

          แอสตาแซนธิน (ภาษาอังกฤษ คือ Astaxanthin) หรือ สาหร่ายแดง เป็นราชินีแห่งสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในเรื่องการดูแลริ้วรอย ครีมตัวนี้ช่วยรักษาหน้าให้อ่อนวัย เพราะมีสารสะกัดจาก สาหร่ายแดงที่เอามาจากในทะเลที่ลึกที่สุดและเราเลือกที่มีสาหร่ายที่มีคุณภาพที่สุดคือ เอาจากทะเลสแกนดิเนเวีย จึงทำให้ลงทำให้หน้ากระชับยิ่งกว่าเดิมและช่วยลดริ้วรอย ใน 14 วัน (ใช้ได้ประมาณ 2 เดือนครับ)
  • สารอาหารชะลอความชรา
  • ปกป้องโครงสร้างเซลล์ทั้งภายในและภายนอก
  • มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์มากกว่าวิตามินชนิดอื่นๆ
  • แอสตาแซนธินมาตรฐานระดับสากลจากประเทศญี่ปุ่น
  • มีผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์รองรับ
  • หยุด!! ปัญหาริ้วรอยและความชรา
  • อ่านคำเตือนในฉลากก่อนบริโภค ไม่มีผลในการป้องกันและรักษาโรค
แอสตาแซนธินคุณภาพสูง และมีความปลอดภัยสูง
  • เพาะเลี้ยงสาหร่ายสีแดงในระบบปิด ภายใต้การควบคุมเพื่อให้ได้ แอสตาแซนธินที่มีคุณภาพสูง
  • งานวิจัยรับประทานแอสตาแซนธิน 45 มก. ทุกวัน ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ไม่พบผลข้างเคียงใดๆ
แอสตาแซนธิน เอจ – ดีไฟอิ้ง เฟเชียล ครีม,แอสตาแซนธินครีม,ประโยชน์แอสตาแซนธิน เอจ – ดีไฟอิ้ง เฟเชียล ครีม
>>> การใช้ <<<
วอร์มครีมก่อนทา ให้ใช้ที่ตักครีมลงในมือ แล้วใช้นิ้วนวด จนครีมอุ่น และก็เริ่มทาลงบนหน้าทาแบบวงกลมยกขึ้น ทาทุกเช้าและก่อนนอน

 แอสตาแซนธิน เอจ – ดีไฟอิ้ง เฟเชียล ครีม,แอสตาแซนธินครีม,ประโยชน์แอสตาแซนธิน เอจ – ดีไฟอิ้ง เฟเชียล ครีม

รหัสสินค้า 15021
ปริมาณสุทธิ : 50.00 กรัม
น้ำหนักรวม : 175.7 กรัม
จำนวน : 1 กระปุก
ราคาสมาชิก 420.00
ราคาเต็ม 560.00

โปรพิเศษ!!! ซื้อ 5 กระปุกขึ้นไป ส่งฟรี ได้รับของ 1-2 วัน 

สาหร่ายแดง,แอสตาแซนธิน,สาหร่ายแดงมีคุณภาพ

เรื่องน่ารู้แอสต้าแซนธิน

“Astaxanthin” คืออะไร?

แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
เป็นสารในกลุ่มแซนโทรฟิลล์ / ตระกูลแคโรทีนอยด์ (Xanthophyll group / Carotenoid family) พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ เป็นสารสีแดงที่พบในปลาแซลมอน ไข่ปลาคาเวียร์ เปลือกกุ้งปูและ Microalgae Haematococcus Pluvialis ร่างกายไม่สามารถสร้างสารชนิดนี้ได้ เราจะได้รับสารชนิดนี้จากอาหารที่รับประทานเข้าไป ในปริมาณที่น้อยมาก เช่น ปลาแซลมอน 200 กรัม จะมีแอสตาแซนธิน เพียง 1 มิลลิกรัม
ความปลอดภัยเราสามารถบริโภคแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ได้อย่างปลอดภัยเนื่องจากสารชนิดนี้เป็นส่วนหนึ่งในอาหารของมนุษย์มานานหลายพันปีแล้ว ตัวอย่างเช่น ในปลาแซลมอนคุณภาพดีจะมีแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) บริสุทธิ์ประมาณ 3 – 6 มิลลิกรัม
มีการทดลองทางคลินิก โดยรับประทานสารแอสตาแซนธิน จาก Microalgae Haematococcus Pluvialis มากถึง 40 มิลลิกรัมเป็นประจำทุกวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยไม่พบผลข้างเคียงใดๆและจากการทดสอบ Full Acute & Sub Chronic, Ames Test & Gene Toxicity และการค้นหาเอกสารทางวิชาการทั่วโลกนั้นไม่พบรายงานที่มีผลข้างเคียงในทางลบ
และจากข้อมูล มีการนำ Microalgae Haematococcus Pluvialis ซึ่งมีสารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) อยู่เป็นจำนวนมาก นำมาสกัดเป็นอาหารเสริมและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในพื้นที่แถบสแกนดิเนเวีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 และสารแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) มีการวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในตลาดตั้งแต่ปีค.ศ. 1999 จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) เป็นสารที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) จึงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระทางเลือกใหม่ ที่ให้ได้มากกว่าสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ
มีผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทำการศึกษาประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระชนิดต่างๆ พบว่า แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้แรงกว่า วิตามิน ซี 6,000 เท่า, CoQ10 800 เท่า, วิตามิน อี 550 เท่า, Green tea catechins 550 เท่า, Alpha lipoic acid 75 เท่า, เบต้า แคโรทีน 40 เท่า และ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น 17 เท่า
ประโยชน์ของสารแอสตาแซนธินนอกจากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีเยี่ยม ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่างๆดังนี้
● ช่วยให้ผิวคงความอ่อนวัย ลดริ้วรอย ความหย่อนคล้อยและจุดด่างดำ
● ช่วยบำรุงสายตา ลดอาการเมื่อยล้าของสายตาจากการใช้คอมพิวเตอร์
● ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อร่างกาย
● ช่วยดูแลสุขภาพกระเพาะอาหาร
● ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองแตก
ใครบ้างที่ควรรับประทานสารต้านอนุมูลอิสระแอสตาแซนธิน (Astaxanthin)● ผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพทุกเพศทุกวัย
● ผู้ที่ใส่ใจในความงามและสุขภาพผิว
● ผู้ที่ต้องเผชิญกับมลภาวะต่างๆเป็นประจำเช่นความเครียด ฝุ่นควันจากท่อไอเสียรถยนต์ เป็นต้น
● ผู้ที่ต้องทำงานใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
● นักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ